บทที่ 16. ดูงานกับ JUMC6 (02-03/04/2011)



ได้ไปร่วมดูงานกับ น้องๆในโครงการ JUMC 6   ซึ่งเป็นโครงการที่ชมรมศิษย์เก่าและปัจจุบัน ในหลักสูตร MBA จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จัดขึ้นมามีจุดประสงค์ให้น้องๆได้เข้ามาลองเรียน  ศึกษาว่าหลักสูตรMBA นั้นเหมาะๆกับน้องหรือไม่  อีกทั้งยัง เปิดโลกทัศน์ในมุมมองการบริหารธุรกิจ แก่น้องๆ

โดยในครั้งที่6นี้ ได้พาน้องๆไปศึกษากรณี  ตลาดน้ำสามชุก และ ตลาดน้ำศรีประจันทร์  จังหวัดสุพรรณบุรี  โดยที่ตลาดน้ำสามชุก ได้รับการต้อนรับ จากคณะกรรมการพัฒนาตลาด สามชุกเชิงอนุรักษ์  โดยการพัฒนาตลาดสามชุกนั้น มีเหตุเกิดมาจากที่ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เจ้าของพื้นที่เดิม ได้มีโครงการจะทำการจัดสรรพื้นที่ใหม่ สร้างเป็นตึกแถว  ทำให้ชุมชมในตลาด เกิดการรวมตัว และได้เริ่มทำการอนุรักษ์ และ ยื่นเรื่องให้ กรมศิลปากร เข้ามาศึกษาพื้นที่ และได้ยื่นผลการศึกษาไปยัง กรมธนารักษ์ ว่าเป็นพื้นที่สมควรแก่การ อนุรักษ์ เป็นโบราณสถานย่านประวัติศาสตร์    
จึงทำให้โครงการพัฒนาพื้นที่ของกรมธนารักษ์นั้นยกเลิกไป  และเริ่มมีงบประมาณจากส่วนการเข้ามา พัฒนาในพื้นที่ ได้รับการดูแลจากเทศบาล แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานส่วนใหญ่ยังเป็นของ คนในพื้นที่เอง ซึ่งจากการรับฟังข้อมูล เรื่องนี้เป็นจุดแข็งของการอนุรักษ์พื้นที่ เนื่องมาจาก ตัวโครงการ ได้ดำเนินงานจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเอง  ประชาชนในพื้นที่ เป็นผู้มีส่วนร่วม ในการกำหนดวิธีการ และทำข้อตกลงกันในในชุมชน  สิ่งนี้เองทำให้คนในชุมชนรู้สึกถึงความรับผิดชอบร่วมกัน (Accountable)ในชุมชน  ทำให้การรวมตัวนั้นเข็มแข็ง ไม่ถูกครอบงำของนักการเมือง หรือแม้กระทั้งงบต่างๆ ถูกนำไปใช้อย่างถูกที่ถูกทางนั่นเอง โดยผลจากการดำเนินงานมาเกือบ20ปีนั้น ทำให้ชุมชมสามชุก ได้รับรางวัลจากยูเนสโก ในรางวัล   รางวัลอนุรักษ์ระดับดี  Award of Merit  จากยูเนสโก  ประจำปี  ๒๕๕๒  ในโครงการอนุรักษ์  มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก

จากการเดินสำรวจตลาดส่งที่ชัดอย่างหนึ่งคือความเป็นระเบียบเรียบร้อย และความสะอาดของทางเท้า  โดยทางคณะกรรมการ ได้ทำเสียงตามสาย เพื่อย้ำถึงการปฏิบัติตัวเป็นเจ้าบ้านที่ดี เพื่อให้นักท่องเที่ยว ยังเดินทางกันเข้ามาในตลาด และ เรียกประชุมผู้กระกอบการ และเจ้าของบ้าน ทุกสัปดาห์ เพื่อ นำเสนอปัญหา  ข้อคิดเห็น หรือ แม้กระทั้งคำต่อว่าของผู้ที่มาเยี่ยมเยือนตลาดแห่งนี้ แก่ร้านค้า  ซึ่งจุดนี้เองทำให้ตลาดสามชุกสามารถดำเนินงานได้ในทิศทางเดียวกัน

แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นปัญหาของตลาดสามชุก(และตลาดอื่นๆ)คือ การที่คนรุ่นใหม่ๆในชุมชน ต่างเดินทางเข้ามาเรียน มาทำงาน กันในกรุงเทพ หรือ การที่ลูกหลานในชุมชนจะต้องไปเรียนพิเศษ ในวันเสาร์-อาทิตย์ ต่างจากวิถีชีวิตในสมัยก่อน  ที่เมื่อมีเวลาก็ต้องมาช่วยงานขายของกันที่บ้าน สิ่งเหล่านี้ยังเป็นเรื่องท้ายทายของคนในชุมชนเอง ว่าจะดำเนินการอย่างไร  ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ลูกหลานตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม หรือแม้กระทั้ง ปฏิเสธไม่ได้ถึง ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อันมากมายของตลาดแห่งนี้ ซึ่งได้สร้าง มูลค่าทรัพย์สินมากมาย 

และปัญหาอีกอย่างคือสิ่งที่มาพร้อมกับนวัตกรรมใหม่ๆ ก็คือการที่คนนอกชุมชนเริ่มเข้ามาขอเช่าประกอบการในตลาด และทำสิ่งที่ตัวเองอยากทำ โดยเฉพาะกระแสที่หลายคนเรียกว่า อาร์ต จนหลายๆที่ไม่ว่าจะเป็น ปาย เชียงคาน ตลาดน้ำอัมพวา ก็กลายเป็นอาร์ต เหมือนๆกันจนแทบจะแยกไม่ออก ว่านี่คือสิ่งที่เรียกว่า วัฒนธรรมของชุมชนที่ ตลาดน้ำสามชุกจะนำเสนอหรือเปล่า  แต่อย่างไร ที่สามชุกนั้น ร้านแนวๆอย่างที่ว่า ยังคงมีน้อยอยู่มากถ้าเทียบกับ สถานที่อื่นๆที่กล่าวมา

ในช่วงบ่ายนั้น ได้เดินทางไปดูงานอีกที่นึง คือตลาดน้ำศรีประจันทร์ ซึ่งได้สร้างความประหลาดใจอย่างมาก  โดยหลังจากก้าวเท้าออกจากรถนั้น ตอนแรกก็เข้าใจว่าส่วนที่เป็นตลาดนั้น ยังอยู่อีกไกล แต่เมื่อได้เดินดู และเดินทางเข้าไปรับฟังรายละเอียด และทำให้ทราบว่า ตลาดน้ำศรีประจันทร์ เป็นชุมชนเก่าอีกชุมชน ที่เห็นการพัฒนาของชุมชนรอบข้าง เช่น ชุมชนสามชุกที่อยู่ห่างกันเพียง 10กิโลเมตร  ทำให้มีบุคคลกลุ่มหนึ่งในชุมชนต้องการพัฒนาชุมชนตามบ้าง

โดยในช่วงแรก ได้อาศัย มูลนิธิ ชาติภูมิสถาน ป. อ. ปยุตฺโต

ซึ่งเกิดจากทุนบริจาคจากชาวท้องถิ่นเป็นส่วนสำคัญเพื่อเชิดชูเกียรติแก่พระพรหมคุ ณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ในการผลักดัน โดยทางมูลนิธิได้ฝากความหวังไว้กับ นักการเมืองผู้หนึ่งในเมืองสุพรรณ ในการขับเคลื่อนโครงการ  ทำให้เริ่มได้งบประมาณ จากทางเทศบาล หรือ ท.ท.ท เข้ามาบ้าง แต่แล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จ หรือแม้กระทั้งมี คนรุ่นใหม่ไฟแรงในชุมชน ที่มีกำลังทรัพย์เข้ามาจะช่วยพันพัฒนาพื้นที่ ก็กลับกลายเป็นถูกคนในหน่วยงานภาครัฐ ขัดขาอันเนื่องมาจากผลประโยชน์ในด้านการเมือง
จนแล้วจนเล่า โครงการตลาดน้ำ ศรีประจันทร์ ก็ยังไม่เป็นที่รู้จัก เท่ากับ อำเภอศรีประจันทร์ จากการได้ดูงานที่ผ่านมา จะพบว่า คนในชุมชนไม่มีส่วนร่วมใดๆในการพัฒนาในปัจจุบัน ด้วยงบประมาณ ทีได้รับมา ซึ่งเท่าไหร่ ก็ไม่ทราบได้ ถูกทำมาเป็นโป๊ะโครงสแตนเลสขนาดใหญ่หลายโปะเชื่อมกัน  ที่รองรับได้โปะละ70คน พื้นลอยน้ำด้วยถังรองใต้พื้น  และด้านตรงข้ามของฝั่งแม่น้ำซึ่งติดกับวัดก็มีเวทีโปะกลางน้ำที่เขาว่าจะมีการแสดงแสงสี ให้ดูชม  อีกทั้งยังร้านค้าที่มีแผนจะมาขาย ก็เป็นร้านค้าจากภายนอกไหนก็ไม่ทราบได้ และจะมาขายกี่วัน  ซึ่งแทบจะประเมินได้ว่า ก็เป็นเพียงโครงการที่ไร้วิสัยทัศน์  เป็นโครงการที่เพียงเอาไว้นำงบมาใช้ เพื่อให้ดูว่ามีโครงการขึ้นจริง
เรื่องราวของทั้งสองตลาดนั้น จะเห็นได้ว่า  ตลาดน้ำ นอกจากจะต้องอาศัยทุนแล้ว ยังต้องอาศัยความต้องการจริงๆของประชาชนในท้องถิ่น  และ ต้องใช้เวลาในการบ่มเพาะให้เกิดความเป็นกลุ่มก้อนของคนในชุมชน ให้รู้สึกถึงความเจ้าของ หวงแหนในพื้นที่ชุมชนตัวเอง 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 39 ไหว้ครู / บายเนียร์ รุ่น 16/1 ,16/2

บทที่ 38 CB,InterFin,MonetCAP Finale

บทที่ 47 5 ปีผ่านไป